สารบัญ
“พอลิเมอร์” ชื่อที่หลายคนคุ้นเคยและมักพบเจอ ได้ยิน ได้สัมผัสกันบ่อย ๆ แต่เมื่อเจาะลึกลงไปในเชิงเคมี การศึกษาเนื้อหาของสารประกอบชนิดนี้อย่างละเอียดจะช่วยสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องมากขึ้น เด็ก ๆ ที่อยู่ในสายวิทย์อย่าพลาดเป็นอันขาด
พอลิเมอร์ คืออะไร
พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่จากการประกอบกันของมอนอเมอร์ (Monomer) ซึ่งเป็นหน่วยเล็ก ๆ ของสารที่มีทั้งแบบเดียวกันและต่างกันเชื่อมต่อผ่านพันธะโคเวเลนต์ (Covalent Bond) ในกระบวนการสร้างสารหรือปฏิกิริยา Polymerization และต้องมีปัจจัยหรือสภาพแวดล้อมเป็นตัวช่วย เช่น ตัวเร่งการเกิดปฏิกิริยา อุณหภูมิ และความดัน เป็นต้น
พอลิเมอร์ มีกี่ประเภท
การแบ่งพอลิเมอร์ตามแหล่งกำเนิด
1. พอลิเมอร์จากธรรมชาติ (Natural Polymer)
สารประกอบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นได้ทั้งกลุ่มสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ เช่น แป้ง ไกลโคเจน ทรายซิลิกา เซลลูโลส แร่ซิลิเกต
2. พอลิเมอร์จากกระบวนการสังเคราะห์ (Synthetic Polymer)
สารประกอบที่เกิดขึ้นโดยการสังเคราะห์ของมนุษย์ผ่านปฏิกิริยาเคมีหรือขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ยางสังเคราะห์ พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์
การแบ่งพอลิเมอร์ตามตามชนิดของมอนอเมอร์ในโมเลกุล
1. โฮโมพอลิเมอร์ (Homopolymer)
ประเภทของพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ชนิดเดียวกัน เช่น แป้ง เซลลูโลส จะมีมอนอเมอร์กลูโคสเชื่อมต่อจนเกิดโมเลกุลขนาดใหญ่ หรือ พอลิเอทิลีน (Polyethylene) เกิดจากเอทิลีน เป็นต้น
2. โคพอลิเมอร์ (Co-Polymer)
ประเภทของพอลิเมอร์ที่เกิดจาดมอนอเมอร์ต่างชนิดกัน เช่น โปรตีนจะมีกรดอะมิโนหลายชนิดรวมตัวเป็นสายโซ่เชื่อมต่อกัน ส่งผลให้โปรตีนแต่ละชนิดจึงมีโครงสร้าง รูปร่าง องค์ประกอบ ความยาว แตกต่างกัน เป็นต้น
ตัวอย่างพอลิเมอร์ที่พบเจอได้ในชีวิตทั่วไป
1. เส้นใยสังเคราะห์ (Synthetic Fiber)
เส้นใยเซลลูโลสที่ได้จากธรรมชาติถูกนำมาทำปฏิกิริยา แต่เมื่อสัมผัสน้ำหรือแสงแดด ความแข็งแกร่ง ความเหนียวแน่นจะลดลง
2. พลาสติก (Plastics)
พอลิเมอร์ที่หลายคนนึกถึงและคุ้นเคยมากที่สุด มีจุดเด่นทั้งความเหนียว ทนทาน น้ำหนักเบา ยืดหยุ่นดี ขึ้นรูปได้หลากหลายทนกับอากาศ กรด เบส และสารเคมี เป็นฉนวนไฟฟ้า ฉนวนกันความร้อน พบเห็นได้หลายรูปแบบในชีวิตทั่วไป
3. ซิลิโคน (Silicone)
แบ่งออกได้หลายชนิดตามมอนอเมอร์ มีจุดเด่นทั้งความแข็งแกร่ง สลายตัวยาก ไม่เกิดปฏิกิริยาต่อสารเคมีเร็ว ทนต่ออุณหภูมิที่แตกต่าง เป็นฉนวนไฟฟ้า ไม่เป็นอันตรายแม้อยู่ในร่างกายมนุษย์
จะเห็นว่าพอลิเมอร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวของเราทุกคน การทำความรู้จักเอาไว้จึงช่วยเพิ่มความเข้าใจอย่างถูกต้อง ขณะที่เด็ก ๆ คนไหนวางแผนสอบเข้าค่าย สอวน. คอร์สเคมี สอวน. กับครูปีโป้ พร้อมเป็นทางเลือกชั้นยอดให้กับทุกคนได้เจาะลึกเนื้อหาอย่างละเอียด เข้าใจง่าย อธิบายไม่ซับซ้อน ตอบโจทย์กับการเรียนรู้อย่างที่คาดหวัง