หมู่ฟังก์ชัน คืออะไร จำแนกตามชนิดได้แบบไหนบ้าง ศึกษาได้เลย

หมู่ฟังก์ชัน คืออะไร จำแนกตามชนิดได้แบบไหนบ้าง ศึกษาได้เลย

หมู่ฟังก์ชัน คืออะไร จำแนกตามชนิดได้แบบไหนบ้าง ศึกษาได้เลย

ในการเรียนรายวิชาเคมี “หมู่ฟังก์ชัน” เป็นอีกเรื่องที่มีความน่าสนใจมาก ช่วยสร้างพื้นฐานความเข้าใจและต่อยอดสู่การเรียนในด้านอื่นต่อไป ครูปีโป้จึงขอพาเด็ก ๆ ทุกคนมาทำความรู้จักกันให้มากขึ้น รวมถึงมีการจำแนกตัวอย่างตามชนิดที่มักพบเห็นกันบ่อย จะมีอะไรบ้างลองศึกษาพร้อมทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้กันได้เลยครับ

เฟอร์มิออน (Fermion) หรืออนุภาคสสาร และ โบซอน (Boson) หรืออนุภาคนำพาแรง (force carrier)

หมู่ฟังก์ชัน คืออะไร

หมู่ฟังก์ชัน คือ กลุ่มอะตอม หรือ หมู่อะตอม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโมเลกุล (โครงสร้างย่อยของโมเลกุล) มีองค์ประกอบและโครงสร้างแบบเฉพาะตัว โดยหน้าที่สำคัญจะเป็นตัวกำหนดบทบาททางเคมี ปฏิกิริยา และสมบัติทางกายภาพของสารเคมีที่มีอะตอมเป็นส่วนประกอบ

ทำความรู้จักกับ “อิเล็กตรอน” อนุภาคด้านประจุไฟฟ้าที่น่าสนใจ

จำแนกประเภทของหมู่ฟังก์ชันที่พบเจอได้บ่อย

ตารางด้านล่างต่อไปนี้คือตัวอย่างของกลุ่มสารอินทรีย์สำคัญที่มีการจำแนกประเภทหมู่ฟังก์ชันซึ่งทุกคนสามารถพบเจอได้บ่อย ๆ โดยเฉพาะผู้ที่เรียนรายวิชาเคมี โดยสูตรโครงสร้างสำคัญของหมู่ฟังก์ชันจะมีสัญลักษณ์ตัว R และ R’ กำหนดค่าแทนกลุ่มของอะตอมใด ๆ ทั้งนี้ตามหลักทั่วไปแล้วมีความหมายถึงส่วนที่เหลือของโมเลกุลซึ่งหมู่ฟังก์ชันดังกล่าวเป็นส่วนประกอบอยู่

กลุ่มสารหมู่สูตรโครงสร้างทั่วไป
แอลเคน (Alkanes)เมททิล (Methyl)R−CH3
แอลคีน (Alkenes)แอลคีน (Alkene)R−CH=CH−R’
แอลไคน์ (Alkynes)แอลไคน์ (Alkyne)R−C≡C−R’
แอลกอฮอล์ (Alcohol)ไฮดรอกซิล (Hydroxyl)R−OH
เอไมด์ (Amide)เอไมด์ (Amide)R−C (=O) N (−H) −R’
เอมีน (Amines)เอมีนปฐมภูมิ (primary Amine)R−NH2
เอมีนทุติยภูมิ (secondary Amine)R−N (−H) −R’
เอมีนตติยภูมิ (tertiary Amine)R−N (−R’) −R
อะโซ (Azo)อะโซ (Azo compound)R-N=N-R’
 ไนไตรล์ (Nitrile)R−C≡N
 ไนโตร (Nitro)R−NO2
 ไนโตรโซ (Nitroso)R−N=O
 ไพริดิล (Pyridyl)R−C5H4N
เบนซิล (Benzyl)เบนซิล (Benzyl)R−CH2−C6H5
กรดคาร์บอกซิลิก (Carboxylic acid)คาร์บอกซิล (Carboxyl)R−C (=O) OH
non-ionized
 
R−C (=O) O
ionized
คาร์บอนิล (Carbonyl)อัลดีไฮด์ (Aldehyde)R−C (=O) H
คีโตน (Ketone)R−C (=O) −R’
อิมีน (Imine)ไพรมารีอิมีน (primary Imine)R−C (=NH) −R’
เซคันดารีอิมีน (secondary Imine)R−C (−H) =N−R’
เอสเตอร์ (Ester)เอสเตอร์ (Ester)R−C (=O) O−R’
อีเทอร์ (Ether)อีเทอร์ (Ether)R−O−R’
ฮาโลเจน (Halogens)ฮาโลเจน (Halogen)F, Cl, Br, etc.
ไอโซไซยาเนต (Isocyanates)ไอโซไซยาเนต (Isocyanate)R−N=C=O
ไอโซไทโอไซยาเนต (Isothiocyanate)R−N=C=S
ฟีนิล (Phenyl)ฟีนิล (Phenyl)R−C6H5
 ฟอสโฟไดเอสเตอร์R−OP (=O) 2O−R’
เพอร์ออกไซด์ (Peroxide)เปอร์ออกซี (Peroxy)R-O-O-R
ไทออล (Thiol)ซัลฟ์ไฮดริล (Sulfhydryl)R−SH
 ไทโออีเทอร์ (Thioether)R−S−R’

ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างของหมู่ฟังก์ชันพร้อมสูตรโครงสร้างที่หยิบมาแนะนำเด็ก ๆ ทุกคน ส่วนใครที่สนใจสมัครสอบเข้าค่าย สอวน. คอร์สเคมีครูปีโป้ ยินดีเป็นผู้ช่วยเพื่อสานฝันความต้องการให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ สอนสนุก เข้าใจง่าย พร้อมคำแนะนำระหว่างเรียนอีกมากมาย สอบถามก่อนสมัครได้เลยครับ