พามาทำความรู้จักกับเรื่องของสมดุลไอออนเบื้องต้นที่น่าสนใจ

พามาทำความรู้จักกับเรื่องของสมดุลไอออนเบื้องต้นที่น่าสนใจ

พามาทำความรู้จักกับเรื่องของสมดุลไอออนเบื้องต้นที่น่าสนใจ

สมดุลไอออนเป็นอีกเรื่องที่มีเด็ก ๆ หลายคนให้ความสนใจ และยังเป็นข้อมูลที่ช่วยต่อยอดการเรียนรู้ของตนเองได้อีกด้วย บทความนี้จึงอยากพามาศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพื่อสร้างพื้นฐานพร้อมต่อยอดให้กับตนเอง ยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องยากเกินไป ทำคนสามารถทำความเข้าใจและศึกษาในระดับลึกขึ้นได้อย่างแน่นอน

สูตรเคมี คืออะไร พร้อมตัวอย่างธาตุและสารประกอบที่พบเห็นบ่อย

ตัวอย่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสมดุลไอออน

1. สารละลายอิเล็กโทรไลต์

สารละลายอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte Solution) คือ ประเภทของสารที่ผ่านการละลายน้ำแล้วเกิดการแตกตัวเป็นไอออน หรือสารที่อยู่ในสภาพหลอมเหลว นำไฟฟ้าได้

  • Strong Electrolyte สามารถแตกตัวได้อย่างสมบูรณ์ในน้ำ เช่น HCl HNO3 HClO4 NaOH KOH NH4Cl NaCl
  • Weak Electrolyte แตกตัวได้น้อยเมื่ออยู่ในน้ำ เช่น HNO2 HClO2 H2 SO3 CH3 COOH NH4OH BaSO4
  • Non Electrolyte ไม่แตกตัวในน้ำและไม่มีการนำไฟฟ้า เช่น ซูโครส กลูโครส
ข้อควรระวังในการใช้งานและศึกษาเกี่ยวกับการแผ่รังสีนิวตรอน

2. กรด-เบส

กรด คือ สารละลายน้ำแล้วให้ผล H+ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่

  • กรดอินทรีย์ มักประกอบด้วยหมู่ฟังก์ชัน -COOH หรือ –SOOH ภายในโมเลกุล มักพบตามธรรมชาติ
  • กรดอนินทรีย์ แบ่งเป็น
    • กรดไฮโดร ประเภทกรดที่มีธาตุไฮโดรเจนกับธาตุอโลหะต่าง ๆ เช่น HCN HCI H2S
    • กรดออกซี หรือกรดออกโซ ประเภทกรดที่มีธาตุไฮโดรเจน ออกซิเจน และธาตุอื่น เช่น HNO3 H2SO4

เบส คือ สารละลายน้ำแล้วให้ผล OH แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ 

  • เบสอินทรีย์ มักประกอบด้วยหมู่ฟังก์ชัน -CH3 -NH2 ภายในโมเลกุล เช่น C2H5NH2
  • เบสอนินทรีย์ มักเกิดจากธาตุโลหะหนักผสมกับหมู่ไฮดรอกไซด์ เช่น KOH NaOH 
อนุภาคมูลฐานของอะตอม เรื่องสุดน่าสนใจที่อยากให้ลองศึกษากัน

3. สารละลายบัฟเฟอร์ (Buffer Solution) 

สารละลายบัฟเฟอร์ คือ ประเภทของสารละลายที่ค่า PH ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงหากเติมกรดแก่หรือเบสแก่ลงไปแบบเจือจาง ซึ่งสามารถทำได้จาก

  • กรดอ่อน+เกลือของกรดอ่อนนั้น เช่น CH3 COOH + CH3 COONa หรือ H3 PO4 + NaH2 PO4
  • เบสอ่อน+เกลือของเบสอ่อนนั้น เช่น NH3 + NH4Cl

4. เกลือ

เกลือ คือ กลุ่มสารประกอบไอออนที่มีแคตไอออนและแอนไอออนถูกยึดเหนี่ยวด้วยพันธะไอออน (แรงดึงดูดไฟฟ้าสถิต) แบ่งเป็น

  • เกลือสามัญ จะไม่มี H+ หรือ OH- แคตไอออนจึงเป็นธาตุโลหะหรือเทียบเท่า
  • เกลือกรด มี H อะตอมในโมเลกุล จึงแตกตัวเป็นไอออนได้
  • เกลือเบส มีแอนไอออน และแคตไอออน
  • เกลือเชิงซ้อน มีแอนไอออนลักษณะไอออนเชิงซ้อน 
คำอธิบายทั่วไปเกี่ยวกับการแผ่รังสีนิวตรอน

ทั้งนี้ประสิทธิภาพการละลายน้ำจึงเป็นสมบัติเฉพาะของสารแต่ละชนิด วัดค่าจากระดับความเข้มข้นของไอออนส่วนน้อยซึ่งมีการละลายเมื่ออยู่ในสารละลายอิ่มตัว และเกลือไอออนที่แตกตัวไม่สมบูรณ์จึงละลายน้ำได้เพียงเล็กน้อย จะเกิดสมดุลภายในสารละลายกลายเป็นสมดุลไอออนในลักษณะที่ต่างกัน

ส่วนเด็ก ๆ คนไหนที่วางแผนสอบเข้าค่าย สอวน. ครูปีโป้ก็มีคอร์ส สอวน. เคมี มาฝากกันแล้ว เรียนสนุก เข้าใจง่าย เนื้อหาไม่ซับซ้อน สะดวกมากกว่าเคย ตอบโจทย์ทุกคนอย่างแน่นอน