สารบัญ
แทบทุกคนคงคุ้นเคยหรือรู้จักกับ “สารประกอบอินทรีย์” กันอยู่พอสมควร เพราะจริง ๆ แล้วนี่คือสิ่งที่อยู่รอบตัว และมักถูกนำไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน แต่สำหรับเด็กสายวิทย์โดยเฉพาะที่เลือกเรียนวิชาเคมี การทำความรู้จักกับสารประกอบชนิดนี้ให้มากขึ้นคืออีกหัวใจสำคัญที่จะสามารถต่อยอดการเรียนของตนเองให้ทำได้ตามเป้าหมายที่คาดหวังเอาไว้ มาไล่เรียงข้อมูลกันได้เลยครับ

สารประกอบอินทรีย์ คืออะไร
สารประกอบอินทรีย์ หรือ Organic Compound คือ สารประกอบชนิดหนึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นอะตอมจากคาร์บอน ซึ่งอินทรีย์ หมายถึง สิ่งมีชีวิต นั่นทำให้สารประกอบชนิดนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการมีชีวิต อย่างไรก็ตามในอดีตนักวิทยาศาสตร์มีความเชื่อว่าสารดังกล่าวได้จากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น กระทั่งเกิดการสังเคราะห์ยูเรียจากการเผาแอมโมเนียไซยาเนตซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มสารอนินทรีย์ ทำให้รู้ว่าจริง ๆ แล้วสารชนิดนี้มีอยู่ทั่วไป และสามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย
การแบ่งประเภทของสารประกอบอินทรีย์
ปกติแล้วการแบ่งประเภทของสารประกอบอินทรีย์จะแยกได้ทั้งจากชนิดของหมู่ฟังก์ชันและแบ่งตามชนิดของธาตุประกอบขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และการนำไปใช้งาน เช่น

1. แบ่งประเภทตามหมู่ฟังก์ชัน
- ไม่มีหมู่ฟังก์ชัน / พันธะเดี่ยวระหว่าง C กับ C และ C กับ H = แอคเคน เช่น มีเทน
- พันธะคู่ระหว่าง C = แอลคีน เช่น อีทีน
- พันธะสามระหว่าง C = แอลไคน์ เช่น อีไทน์
- ไฮดรอกซี = แอลกอฮอล์ เช่น เอทานอล
2. แบ่งตามชนิดของธาตุประกอบ
- สารประกอบไฮโดรเจน สารประกอบอินทรีย์เฉพาะอะตอมไฮโดรเจนและคาร์บอน
- สารอินทรีย์มีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบ เช่น แอลกอฮอล์ คีโตน กรดอินทรีย์ แอลดีไฮด์ ฯลฯ
- สารอินทรีย์มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ เช่น เอมีน
- สารอินทรีย์มีออกซิเจนและไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ เช่น เอไมด์
ประโยชน์ของการนำสารประกอบอินทรีย์ไปใช้งาน
อย่างที่อธิบายไปว่าสารประกอบอินทรีย์มีด้วยกันหลายประเภทมาก ๆ จึงขอยกตัวอย่างการนำสารบางชนิดไปใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- แอลเคน ใช้งานกับโรงงานไฟฟ้า และวัตถุดิบสำคัญของการผลิตสินค้ากลุ่มเคมีภัณฑ์
- แอลไคน์ เมื่ออะเซทีลินกับออกซิเจนผสมกันในปริมาณเหมาะสม จะเกิดเปลวไฟความร้อน 3,000 องศาเซลเซียส จึงใช้กับงานตัด เชื่อมโลหะ
- แอลคีน มีหลายชนิดจึงทำประโยชน์ได้เยอะ เช่น ส่วนประกอบสารปรุงแต่งอาหาร สารตั้งต้นผลิตพลาสติก เป็นต้น
- แอลกอฮอล์ เมทานอล ตัวทำละลายแลกเกอร์สำหรับงานไม้ ล้างเล็บ จุดไฟ ส่วนผสมของแก๊สโซลีน เอทานอล ส่วนผสมเครื่องสำอาง สบู่ น้ำหอม ของมึนเมา
- เอไมด์ เช่น อะเซตามิโนเฟน (พาราเซตามอล)
นี่คือส่วนหนึ่งของส่วนประกอบอินทรีย์ที่นำมาให้เด็ก ๆ ทุกคนได้ศึกษาเบื้องต้น เป็นการสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง ส่วนใครที่ตั้งเป้าหมาย หรือวางแผนสอบเข้า สอวน. ขอแนะนำคอร์ส สอวน. เคมี กับครูปีโป้ เรียนสนุก เนื้อหาเข้าใจง่าย อธิบายได้ละเอียด เพื่อก้าวสู่เส้นทางที่ทุกคนวางแผนเอาไว้ไม่ใช่เรื่องยากเกินจริง