รู้จักกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล เรื่องน่าสนใจด้านเคมี

logo web kmepepo
อนุภาคมูลฐานของอะตอม เรื่องสุดน่าสนใจที่อยากให้ลองศึกษากัน

รู้จักกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล เรื่องน่าสนใจด้านเคมี

ปกติแล้วสารต่าง ๆ ในธรรมชาติมักอยู่ร่วมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ไม่ได้แยกอิสระ เช่น ของแข็ง ของเหลว นั่นหมายถึงอะตอมของสารดังกล่าวเกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน หากต้องการแยกสารให้ออกจากกันก็ต้องอาศัยพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแรงยึดเหนี่ยวที่จะพาทุกคนมาศึกษากันในบทความนี้เป็น “แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล” มีความน่าสนใจยังไงบ้าง ตามมาเลย

จากข้อมูลที่ระบุไว้ในตารางยังสามารถสรุปแบบเข้าใจง่ายให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น ดังนี้

ทำความรู้จักกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล

แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล คือ กรณีที่ต้องการทำให้สารชนิดใดมีความเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยพลังงานจำนวนหนึ่งส่วนจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสารดังกล่าว ทั้งนี้หากมีการระบุข้อมูลที่สามารถยืนยันได้ชัดเจนเกี่ยวกับสารที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล เช่น จุดหลอมเหลว จุดเดือด ความร้อนแฝง เพราะสิ่งเหล่านี้ต้องมีการใช้พลังงานจำนวนหนึ่งเพื่อเปลี่ยนวัตถุจากของแข็งสู่สภาพของเหลว ไปจนถึงการเปลี่ยนสภาพของเหลวสู่การเป็นไอน้ำ เช่น น้ำซึ่งมีสถานะเป็นของเหลวเมื่ออยู่ในระดับอุณหภูมิห้องปกติ หากได้รับความร้อนก็จะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นไอน้ำ และไอน้ำถือเป็นโมเลกุลของน้ำ นั่นหมายถึงโมเลกุลของน้ำก็เกิดแรงยึดเหนี่ยวต่อกันอยู่ด้วยนั่นเอง

8306655

แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลกับการเกิดเฉพาะในพันธะโคเวเลนต์ สำหรับบอกจุดเดือด

หากโมเลกุลหลายโมเลกุลเกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนต้องอาศัยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลทำการยึดเอาไว้เสมอ เช่น น้ำในชามใบหนึ่งจะมีโมเลกุลของน้ำอยู่เยอะมากซึ่งแต่ละโมเลกุลเกิดการยึดเหนี่ยวระหว่างกันในลักษณะของเหลว แต่เมื่อเกิดความร้อน หรือสร้างความร้อนขึ้นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของน้ำจะถูกทำลายส่งผลให้โมเลกุลของน้ำมีการแยกเป็นอิสระต่อกันเปลี่ยนเป็นสถานะแก๊สนั่นเอง ซึ่งแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ประกอบไปด้วย

  • แรงลอนดอน (ไม่มีขั้ว) เป็นแรงระหว่างโมเลกุลที่ไม่มีขั้วเหมือนกันเกิดแรงระหว่างขั้วแบบเหนี่ยวนำหรือขั้วชั่วคราว 
  • แรงดึงดูดระหว่างขั้ว แรงยึดเหนี่ยวของโมเลกุลขั้วบวกกับขั้วลบแยกจากกันถาวรในโมเลกุล จะเกิดเฉพาะกับโมเลกุลไม่มีขั้ว ซึ่งขั้วบวกโมเลกุลหนึ่งจะมีการดึงดูดขั้วลบโมเลกุลหนึ่ง)
  • พันธะไฮโดรเจน แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลที่ไฮโดรเจนอะตอมสร้างพันธะกับอะตอมอื่นซึ่งมีค่า EN สูง ส่งผลให้โมเลกุลเกิดสภาพขั้วสูงกว่าโมเลกุลปกติ และเมื่อพันธะไฮโดรเจนเกิดแรงมากกว่าแรงระหว่างขั้ว สารที่มีพันธะไฮโดรเจนจะเกิดจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงกว่าปกติ 

นี่คือข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจเกี่ยวกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล เด็ก ๆ สามารถลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ศึกษากันได้เลย ส่วนใครที่สนใจคอร์สสอบ สอวน. เคมี ครูปีโป้ยินดีเป็นผู้ช่วยให้การสอบของทุกคนเป็นเรื่องง่ายกว่าเดิม เรียนสนุก ไม่เครียด ไม่น่าเบื่อ เนื้อหาครบถ้วนแน่นอน