พันธะเคมี คืออะไร เรื่องน่าสนใจสำหรับการเลือกเรียนสายวิทย์

พันธะเคมี คืออะไร

พันธะเคมี คืออะไร เรื่องน่าสนใจสำหรับการเลือกเรียนสายวิทย์

สำหรับเด็ก ๆ ที่สนใจเรียนในสายวิทย์ หรือชื่นชอบเกี่ยวกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ รายวิชาพื้นฐานอย่างหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยนั่นคือ “พันธะเคมี” เพราะเป็นจุดเริ่มต้นในการต่อยอดสู่การเรียนรู้ด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมทักษะ ต่อยอดให้ตนเองเก่งขึ้น บทความนี้พี่ปีโป้จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับเนื้อหาเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางและยังสร้างความน่าสนใจให้กับเด็ก ๆ ที่ยังลังเล หรือกลัวว่าจะยากเกินไปหรือไม่ กระซิบว่าไม่ได้ยากเลยนะ

พันธะเคมี คืออะไร

พันธะเคมี คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นจากแรงดูดที่เข้าหากันระหว่างอะตอม (อนุภาคมูลฐาน) ซึ่งอยู่ด้านในของโมเลกุล บางกรณีอาจเกิดขึ้นระหว่างโมเลกุลด้วยกัน เป็นการสร้างเสถียรภาพ หรือเพื่อให้วาเลนต์อิเล็กตรอนมีค่า 8 อะตอมดังกล่าวจึงสามารถคงสภาพเอาไว้ได้อย่างอิสระ เกิดเป็นสสารหรือกลุ่มสารประกอบขนาดใหญ่และค่อย ๆ เพิ่มระดับความซับซ้อนในธรรมชาติ

พันธะเคมี คืออะไร

ประเภทของพันธะเคมี

1. พันธะไอออนิก (Ionic Bond)

เป็นประเภทของพันธะที่เกิดขึ้นเมื่อ Cation (แรงดึงดูดไฟฟ้าสถิตไอออนบวก) และ Anion (แรงดึงดูดไฟฟ้าสถิตไอออนลบ) มีการยึดเหนี่ยวอะตอมเข้าหากันด้วยวิธีย้ายอิเล็กตรอนวงนอกสุดระหว่างอะตอม มีจุดประสงค์เพื่อให้เวเลนต์อิเล็กตรอนของไอออนทั้งคู่เกิดจำนวนเต็มตามกฎออกเตต ปกติแล้วมักพบพันธะดังกล่าวได้ระหว่างโลหะกับอโลหะ เพราะโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชัน (Ionization Energy) ต่ำ ส่วนอโลหะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (Electron Affinity) สูง ด้วยเหตุนี้แนวโน้มที่โลหะจะให้อิเล็กตรอนและอะโลหะจะรับอิเล็กตรอนจึงเกิดขึ้น

2. พันธะโคเวเลนต์ (Covalent Bond)

มักเกิดจากการรวมตัวของอะตอมธาตุกลุ่มอโลหะ สามารถใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนได้ตั้งแต่ 1 คู่ขึ้นไปร่วมกันระหว่างอะตอม เหตุเพราะอะตอมดังกล่าวมีพลังงานไอออไนเซชัน (Ionization หมายถึง แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอิเล็กตรอน) สูง เมื่อมีการจับคู่จึงเกิดการแบ่งอิเล็กตรอนระหว่างกัน อีกทั้งยังไม่มีอะตอมตัวไหนสูญเสียอิเล็กตรอนแบบถาวรด้วย ทั้งนี้ พันธะโคเวเลนต์ ยังแบ่งย่อยได้อีก 3 รูปแบบ ตามจำนวนคู่อิเล็กตรอนที่ใช้งานร่วมกัน ได้แก่

  • พันธะเดี่ยว (Single Bond) ใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่
  • พันธะคู่ (Double Bond) ใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่
  • พันธะสาม (Triple Bond) ใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่

3. พันธะโลหะ (Metallic Bond)

เป็นแรงยึดเหนี่ยวซึ่งเกิดอยู่ภายในอะตอมของธาตุกลุ่มโลหะ พันธะดังกล่าวจะทำให้มีการแบ่งปันอิเล็กตรอนวงนอกสุดร่วมกัน อะตอมกลุ่มโลหะจึงรวมตัวอยู่ด้วยกันเป็นก้อนและไม่ได้มีการรวมเป็นสัดส่วนของอะตอมใดแบบเฉพาะตัว สสารภายนั้น ๆ จึงมีการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอยู่ตลอด

จากเนื้อหาเบื้องต้นเหล่านี้คงทำให้เด็ก ๆ หลายคนเข้าใจเกี่ยวกับพันธะเคมีมากขึ้นนะครับ แต่ถ้าอยากได้ทักษะเพิ่มเติมด้านรายวิชาเคมีเพื่อเป้าหมายของตนเองทั้งการสอบ สอวน. เตรียมสอบเข้า ม.4 หรืออยากพัฒนาความรู้ของตนเองก็สามารถเลือกคอร์สเรียนออนไลน์กับพี่ปีโป้ได้เลยนะครับ พร้อมทำให้เรื่องเคมีเป็นเรื่องง่าย