สารบัญ
สารละลาย คืออะไร พื้นฐานการเรียนวิชาเคมีที่เด็ก ๆ ต้องรู้ไว้
ในการเรียนวิชาเคมี หนึ่งในเนื้อหาที่เด็ก ๆ ทุกคนต้องพบเจอนั่นคือ “สารละลาย” เสมือนเป็นพื้นฐานการเรียนเพื่อต่อยอดเรื่องอื่น ๆ รวมถึงเป็นความรู้เพื่อใช้สำหรับการเรียนในอนาคต บทความนี้ครูปีโป้จึงอยากพาทุกคนมาทำความรู้จักกันเบื้องต้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ พร้อมยืนยันจริงแล้วการเรียนเคมีไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด อย่าพึ่งกังวลหรือเครียดมากไปก่อนได้เรียนจริง
สารละลาย คืออะไร?
สารละลาย คือ สารเนื้อเดียวกันที่มีการผสมรวมอยู่ตั้งแต่ 2 สารขึ้นไป (สารไม่บริสุทธิ์) ได้แก่ สารที่ถูกทำละลายและสารตัวทำละลายซึ่งมีสถานะแบบเดียวกัน ซึ่งสารละลายมากกว่าก็จะเป็นตัวทำละลาย แต่กรณีสารทั้งสองสถานะต่างกัน สารตัวที่มีสถานะเดียวกับสารละลายจะเป็นตัวทำละลาย ดังนั้นหากขออธิบายให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เมื่อสาร 2 ชนิดขึ้นไปรวมตัวกัน สารที่มีปริมาณมากกว่าคือตัวทำละลาย สารที่มีปริมาณน้อยกว่าคือตัวถูกทำละลาย โดยสารละลายสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกสสารบนโลก
ชนิดของสารละลาย มีอะไรบ้าง?
1. สารละลายชนิดของแข็ง
สารละลายที่มีตัวทำละลายอยู่ในสถานะของแข็งหรือเป็นน้ำก็ได้ เช่น สัมฤทธิ์ โลหะบัดกรี ทองเหลือง นาค ขณะที่สารถูกทำละลายอาจเป็นของเหลว เช่น ปรอทในเงิน สารละลายตะกั่ว เป็นของแข็ง เช่น ทองคำละลายในทองแดง นาคละลายในทองแดง และเป็นก๊าซ เช่น ก๊าซไฮโดรเจนในโลหะกลุ่มแพลตตินั่ม เป็นต้น
2. สารละลายชนิดของเหลว
สารละลายที่มีตัวทำละลายอยู่ในสถานะของเหลว เช่น น้ำเกลือ น้ำส้มสายชู น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำเชื่อม ขณะที่สารถูกทำละลายอาจเป็นได้ทั้งของแข็ง เช่น น้ำตาลทรายที่อยู่ในน้ำเชื่อม หรือเป็นของเหลว เช่น สารละลายแอมโมเนีย สารละลายแอลกอฮอล์ สารละลายโซเดียมคลอไรด์สารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ เป็นต้น
3. สารละลายชนิดก๊าซ
สารละลายที่มีตัวทำละลายอยู่ในสถานะของก๊าซ เช่น อากาศ (ตัวทำละลายและตัวถูกละลายคือก๊าซ) ขณะที่สารถูกทำละลายอาจเป็นได้ทั้งของแข็ง เช่น ลูกเหม็นที่ระเหยในอาการ เป็นของเหลว เช่น ไอน้ำในอากาศ เป็นต้น
สารละลาย มีกี่ประเภท?
สารละลายจะแบ่งออกด้วยกันทั้งหมด 2 ประเภท ซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร ดังนี้
1. สารละลายอิ่มตัว (Saturated Solution)
สารที่ตัวทำละลายไม่สามารถละลายในตัวทำละลายได้อีก หากตัวทำละลายกับอุณหภูมิคงที่ เป็นได้ทั้งสารละลายอิ่มตัวพอดีและสารละลายอิ่มตัวเหลือเฟือ กรณีเกิดความร้อนกับสารละลายเหลือเฟือก็จะได้เป็นสารละลายยิ่งยวด
2. สารละลายไม่อิ่มตัว (Unsaturated Solution)
สารที่ตัวทำละลายยังละลายในตัวทำละลายได้อีก แยกออกเป็นสารละลายเข้มข้นกับสารละลายเจือจาง
เป็นยังไงกันบ้างครับกับเรื่องของสารละลายพื้นฐานที่หยิบมาฝากกัน สำหรับเด็ก ๆ คนไหนที่สนใจเรียนคอร์สเคมีเพิ่มเติม หรือวางแผนอยากสอบเข้าค่าย สอวน. คอร์สจากครูปีโป้พร้อมช่วยให้ความตั้งใจของทุกคนเป็นจริง สอนสนุก เข้าใจง่าย ไม่มีเบื่อแน่นอน