อิเล็กโทรไลต์ คืออะไร ทำไมถึงจำเป็นต่อร่างกายของเราทุกคน

ติวสอวน เคมี

ร่างกายของคนเราถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในแบบที่ตัวเองยังคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ รวมถึงยังมีเรื่องวิทยาศาตร์เข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่างหาก “อิเล็กโทรไลต์” แม้คนส่วนใหญ่อาจรู้สึกคุ้นหูแต่เมื่อเจาะลึกลงไปแล้วอาจยังมีข้อสงสัยว่าคืออะไร และมีความสำคัญ ความจำเป็นต่อร่างกายมากขนาดไหน ลองมาทำความรู้จักและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องกันได้เลย

อิเล็กโทรไลต์ คืออะไร

อิเล็กโทรไลต์ คือ สารหรือกลุ่มแร่ธาตุที่มีทั้งประจุบวกและลบสามารถแตกตัวสู่สภาวะไอออนอิสระได้หากเกิดการหลอมเหลวหรือละลายน้ำ นำไฟฟ้าได้ ซึ่งในร่างกายจะมี Electrolytes สะสมอยู่ในของเหลวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเลือด เหงื่อ ปัสสาวะ สามารถสูญเสียได้จากการถ่ายปัสสาวะ เหงื่อออก หรือเสียเลือด ซึ่งการรับกลับเพิ่มเติมต้องมาจากอาหารและเครื่องดื่มที่ทานเป็นหลัก ซึ่งโดยทั่วไปร่างกายควรต้องมีปริมาณที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไปเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

ชนิดอิเล็กโทรไลต์ที่สำคัญต่อร่างกาย

ชนิดอิเล็กโทรไลต์ที่สำคัญต่อร่างกาย

ต้องอธิบายก่อนว่าอิเล็กโทรไลต์มีหน้าที่สำคัญต่อการควบคุมระดับของเหลวในร่างกายเพื่อให้ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และอื่น ๆ ทำงานได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม Electrolytes แต่ละชนิดก็มีความแตกต่างด้านหน้าที่กันออกไป ซึ่งขอยกตัวอย่างที่สำคัญ ดังนี้

1. แคลเซียม (Calcium)

ตัวช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน สร้างการทำงานของกล้ามเนื้อ ดูแลระบบประสาท หลอดเลือดหัวใจทำงานได้ดี ฮอร์โมนหลากชนิดถูกหลั่งออกมาในปริมาณเหมาะสม

2. โซเดียม (Sodium)

นี่คืออิเล็กโทรไลต์ที่พบได้มากสุดในร่างกาย ปรับระดับของเหลวให้สมดุล กระตุ้นการดูดสารอาหารเข้าสู่เซลล์ บำรุงระบบประสาทและกล้ามเนื้อ แต่ทั้งนี้ต้องได้รับในปริมาณเหมาะสม

3. แมกนีเซียม (Magnesium)

เสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจ ปรับอารมณ์ให้เป็นปกติ นอนหลับง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อารมณ์แปรปรวน

3. แมกนีเซียม (Magnesium)

4. โพแทสเซียม (Potassium)

ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการเต้นหัวใจ การทำงานกล้ามเนื้อ ปรับระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ดีต่อระบบประสาท

5. คลอไรด์ (Chloride)

ปรับระดับของเหลวในเซลล์ให้เกิดความสมดุล ลดความเป็นกรดและด่าง กระตุ้นระบบย่อยอาหาร การทำงานของเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อ เลือดลมไหลเวียนดี

6. ฟอสเฟต (Phosphate)

อิเล็กโทรไลต์อีกชนิดที่อยากแนะนำ กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เสริมสร้างกระดูกและฟันร่วมกับแคลเซียม ผลิตสาร DNA

7. ไบคาร์บอเนต (Bicarbonate)

นี่คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เหลืออยู่หลังการเผาผลาญอาหารสู่พลังงาน ช่วยรักษาสมดุลของเหลว ปรับค่ากรดและด่างในเลือด

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องอิเล็กโทรไลต์เท่านั้น ยังมีความน่าสนใจอีกหลายด้านให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ ส่วนใครวางแผนเรียนต่อกับค่าย สอวน. “คอร์ส สอวน. เคมี” กับครูปีโป้ พร้อมช่วยทำฝันของทุกคนสำเร็จลุล่วง เรียนสนุก เข้าใจง่าย เนื้อหาสรุปแบบอัปเดตใหม่ล่าสุด ต่อยอดได้อีกสบายมาก