ปริมาณสารสัมพันธ์ คืออะไร และเรื่องพื้นฐานที่ควรรู้เบื้องต้น

ติวสอวน เคมี

ในการเรียนรายวิชาเคมี อีกเรื่องที่เด็ก ๆ ทุกคนต้องพบเจอนั่นคือ “ปริมาณสารสัมพันธ์” สำหรับคำนวณปริมาณสารที่ใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อให้เกิดเป็นปริมาณสารผลิตภัณฑ์ตามที่ระบุไว้ รวมถึงยังสามารถใช้ระบุได้ว่าสารตั้งต้นดังกล่าวสามารถทำปฏิกิริยาทั้งหมดหรือเหลืออยู่ และปฏิกิริยาจะสร้างผลผลิตได้มากสุดระดับใด จึงขอพาทุกคนมาศึกษารายละเอียดพื้นฐานและความรู้เบื้องต้นกันได้เลย

ปริมาณสารสัมพันธ์ คืออะไร

ปริมาณสารสัมพันธ์ (Stoichiometry) คือ การคำนวณหรือวัดปริมาณสารทุกชนิด โดยเฉพาะกลุ่มสารที่สัมพันธ์กับการเกิดปฏิกิริยาเคมีไม่ว่าจะเป็นสารตั้งต้น สารผลิตภัณฑ์ ซึ่งความสัมพันธ์ของสารทั้ง 2 ชนิดนี้จะช่วยให้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงไปของสารตั้งต้น และปริมาณที่เกิดขึ้นใหม่ของสารผลิตภัณฑ์ รวมถึงปริมาณในพลังงานสารที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี 

ข้อมูลพื้นฐานที่ต้องรู้เกี่ยวกับปริมาณสารสัมพันธ์

1. อะตอม (Atom)

อนุภาคขนาดเล็กสุดของธาตุแต่ยังคงรักษาสมบัติธาตุดังกล่าวไว้เสมอ อนุภาคมูลฐานอะตอมจะมีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยอิเล็กตรอน ส่วนใหญ่แล้วอะตอมของธาตุมักรวมตัวกันทั้งกับอะตอมชนิดเดียวกันและต่างกันภายใต้สัดส่วนที่เหมาะสมและยึดเหนี่ยวเป็นโมเลกุล

โดยมวลอะตอม คือ มวลหรือน้ำหนักเปรียบเทียบ (Relative Mass หรือ Relative Weigh) กับมวลอะตอมมาตรฐานเพื่อให้รู้ว่า 1 อะตอมของธาตุดังกล่าวมีน้ำหนักกี่เท่าของธาตุมาตรฐาน ใช้หน่วยเปรียบเทียบ หน่วยมวลอะตอม (amu) หรือดาลตัน (D) ด้วยสูตร

1 amu = 1.66 ×10-24 กรัม

2. โมเลกุล  (Molecule)

เกิดจากอะตอมตั้งแต่ 2 หน่วย ซึ่งเป็นได้ทั้งอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันและธาตุชนิดแตกต่างกัน รวมตัวกันภายใต้แรงดึงดูดทางเคมีในอัตราส่วนคงที่ แบ่งได้ ดังนี้

  • โมเลกุลอะตอมเดี่ยว Monoatomic Molecule
  • โมเลกุลอะตอมคู่ (Diatomic Molecule) แยกออกได้เป็น โมเลกุลแบบโฮโมนิวเคลียร์ และ โมเลกุลแบบเฮทเทอโรนิวเคลียร์
  • โมเลกุลหลายอะตอม (Polyatomic Molecule)

ทั้งนี้มวลโมเลกุลของสาร เกิดจากผลบวกมวลอะตอมของธาตุทั้งหมดภายในโมเลกุลนั้น ๆ

3. ไอออน (Ion)

อะตอมหรือกลุ่มอะตอมชนิดมีประจุจากการย้ายตัวของอิเล็กตรอนผ่านการให้หรือรับอิเล็กตรอน แบ่งออกได้ 2 ชนิด 

  • แคตไอออน (Cation)
  • แอนไอออน (Anion)

4. สูตรเคมี (Chemical Formular) 

สัญลักษณ์ที่บ่งบอกองค์ประกอบของสารแต่ละประเภท มีการระบุชนิดกับจำนวนอะตอมธาตุไว้ชัดเจน เช่น 

  • H2O สูตรเคมีของน้ำ
  • CO2 สูตรเคมีของคาร์บอนไดออกไซด์
  • O2 สูตรเคมีของออกซิเจน

นี่คือเรื่องน่าสนใจเบื้องต้นเกี่ยวกับปริมาณสารสัมพันธ์ซึ่งจริง ๆ แล้วยังมีรายละเอียดเจาะลึกอีกเยอะมากที่เด็ก ๆ ทุกคนจะได้เรียน ส่วนใครที่วางแผนอยากสอบเข้าค่าย สอวน. คอร์สเคมี สอวน. จากครูปีโป้ ยินดีเป็นผู้ช่วยให้ความตั้งใจของทุกคนเป็นจริงง่ายขึ้นกว่าเดิม เรียนสนุก เนื้อหาเข้าใจง่าย กระชับ พร้อมแนะนำเทคนิคดี ๆ ที่เอาไว้ใช้ได้จริงอย่างแน่นอน