การดุลสมการ Redox มีกี่วิธี แตกต่างกันอย่างไรบ้าง อ่านเลย

การดุลสมการ Redox มีกี่วิธี แตกต่างกันอย่างไรบ้าง อ่านเลย

การดุลสมการ Redox มีกี่วิธี แตกต่างกันอย่างไรบ้าง อ่านเลย

การดุลสมการ Redox เป็นอีกเรื่องของรายวิชาเคมีไฟฟ้าระดับมัธยมปลาย (ม.5) ที่เด็ก ๆ ในสายวิทย์ทุกคนต้องมีโอกาสได้เรียนรู้เพื่อนำไปปรับใช้ต่อยอดการเรียนต่อในอนาคตจนถึงการทำงาน จึงอยากพาทุกคนมาศึกษาวิธีดุลสมการรีดอกซ์ มีทั้งหมดกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไรบ้างนะ?

รู้จักกับปฏิกิริยารีดอกซ์ (Redox Reaction)

ปฏิกิริยารีดอกซ์ (Redox Reaction) คือ ปฏิกิริยาที่เกิดการถ่ายโอนอิเล็กตรอน หรือการเกิดปฏิกิริยากับอะตอม โมเลกุล หรือไอออนจนเลขออกซิเดชันเปลี่ยนไป และมีปฏิกิริยารวมกันของครึ่งปฏิกิริยาย่อย แบ่งออกได้ ดังนี้

  • ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Half-Rection) ครึ่งปฏิกิริยาเมื่ออะตอม โมเลกุล หรือไอออนสูญเสียอิเล็กตรอนทำให้มีการเพิ่มขึ้นของเล็กออกซิเดชัน
  • ครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน (Reduction Half-Reaction) ครึ่งปฏิกิริยาเมื่ออะตอม โมเลกุล หรือไอออน ได้รับอิเล็กตรอนทำให้เลขออกซิเดชันลดลง

ด้วยเหตุนี้ปฏิกิริยารีดอกซ์ (Redox Reaction) จะต้องมี 2 ปฏิกิริยาดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ว่ากรณีใดก็ตาม

การดุลสมการ Redox มีกี่วิธี อะไรบ้าง

การดุลสมการ Redox มีกี่วิธี อะไรบ้าง

ในการดุลสมการ Redox จะแบ่งออกเป็น 2 วิธี ทั้งนี้ในแต่ละวิธียังมีการแยกออกเป็นการดุลในสารละลายกรดและสารละลายเบส แต่โดยภาพรวมแล้วจะใช้หลักการเดียวกัน ประกอบไปด้วย

1. การดุลสมการ Redox ด้วยวิธีไอออน – อิเล็กตรอน ในสารละลายกรด และเบส

1.1 หาเลขออกซิเดชันที่มีการเปลี่ยนไปของตัวออกซิไดซ์และตัวรีดิวซ์

1.2 แยกปฏิกิริยารีดอกซ์เป็นครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชันและครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน ดังนี้

  • ดุลจำนวนอะตอมของธาตุตัวที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเลขออกซิเดชัน
  • ดุลจำนวนประจุของอะตอมตัวที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเลขออกซิเดชันให้เท่ากันด้วยวิธีเพิ่มอิเล็กตรอน
  • ดุลอะตอม O ด้วยการเพิ่ม H2O (หากเป็นเบส ใช้วิธีดุลประจุครึ่งปฏิกิริยาด้วยการเพิ่ม OH)
  • ดุลอะตอม H ด้วยการเพิ่ม H+ (หากเป็นเบส ใข้วิธีดุลอะตอม H และ O ด้วยการเพิ่ม H2O)

1.3 การทำจำนวนอิเล็กตรอนทั้ง 2 ครึ่งปฏิกิริยาให้มีจำนวนเท่ากัน

1.4 การรวม 2 ครึ่งปฏิกิริยา

2. การดุลสมการ Redox ด้วยวิธีเลขออกซิเดชัน ในสารละลายกรดและเบส

2.1 หาเลขออกซิเดชันที่เพิ่มขึ้นของรีดิวซ์ และเลขออกซิเดชันที่ลดลงของออกซิไดซ์

2.2 ปรับเลขออกซิเดชันที่เพิ่มขึ้นและลดลงให้เท่ากัน (เขียนเลขที่เพิ่มขึ้นไว้ด้านหน้าออกซิไดซ์และเขียนเลขที่ลดลงไว้ด้านหน้ารีดิวซ์

2.3 ดุลจำนวนอะตอมของธาตุตัวที่เลขออกซิเดชันเปลี่ยนแปลง

2.4 ดุลประจุรวมซ้ายและขวาของสมการให้เท่ากัน ด้วยการเพิ่ม H+ (ในสารละลายเบสใช้การเพิ่ม OH)

2.5 ดุลจำนวนอะตอมธาตุ O และ H ด้วยการเพิ่ม H2O

นี่คือการดุลสมการ Redox เบื้องต้นที่นำมาฝากทุกคนให้ลองศึกษากัน ส่วนเด็ก ๆ คนไหนที่กำลังมองหาคอร์สติวสอบเข้า สอวน. เคมี ครูปีโป้ก็มีคอร์สดี ๆ มาบอกต่อ ตรงกับจุดประสงค์การเรียน เนื้อหาสรุปให้แบบเข้าใจง่าย ตรงจุด สอนสนุก ไม่น่าเบื่อ ตัวช่วยชั้นยอดในการสอบเข้าค่าย สอวน. สำหรับทุกคน